วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การศึกษาสื่อการเรียนการสอน (แผนภาพ)

การศึกษาสื่อการเรียนการสอน (แผนภาพ)

แผนภาพ  (Diagram)
          ความหมายของแผนภาพ
แผนภาพ ( Graphic Organizers )  คือ การใช้แผนภาพแสดงเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง คำหรือความคิดในภารกิจแห่งการเรียนรู้ บางครั้งก็เรียกว่า แผนที่ความรู้ ( Knowledge maps )  แผนที่มโนทัศน์ ( Concept maps ) แผนที่เรื่อง ( Story maps ) แผนภาพความคิด ( Cognitive maps ) หรือแผนผัง   มโนทัศน์ ( Concept diagrams )( Hall and Strangman2004 )  หรือในอีกความหมายหนึ่ง  แผนภาพคือวิธีการใช้ภาพสร้างองค์ความรู้และเรียบเรียงสารสนเทศ  ช่วยย่นย่อสารสนเทศที่มีอยู่มากมาย และดูประหนึ่งไม่สัมพันธ์กัน  ให้เป็นโครงสร้างที่อ่านง่าย  ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายต่อการเข้าใจ ( Enchanted Learning 2010 )เป็นทัศนวัสดุที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ต่างๆ โดยแสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น แผนภาพแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

1. แผนภาพลายเส้นเป็นแผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรง และข้อความประกอบกัน เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งลักษณะและตำแหน่ง และความสัมพันธ์ ของภาพที่แสดง


2.แผ่นภาพแบบบล็อกเป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ แสดงความสัมพันธ์ของระบบการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยไม่เน้นรายละเอียดของการทำงาน




3.แผนภาพแบบรูปภาพเป็นแผนภาพ ที่ใช้ลายเส้นเขียน เป็นภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงต้องการให้ดูเหมือนหรือใกล้เคียงเท่านั้น ผู้ดูจะเกิด ความเข้าใจ ได้เองแผนภาพแบบนี้ จึงเหมาะ แก่การแสดง หลักการทำงาน ถ้าภาพ ที่วาดเหมือนจริง มากจะกลายเป็น แผนภูมิอธิบายภาพ



4. แผนภาพแบบผสมเป็นแผนภาพ ที่ใช้เทคนิค การเขียนลายเส้น บนรูปภาพเพื่อเน้น ให้เห็นความสำคัญ เฉพาะ บางส่วน โดยเป็นการรวม ทั้งรูปภาพ และลายเส้น เข้าด้วยกัน



ลักษณะของแผนภาพที่ดี              
            1. เป็นแบบง่าย ๆ และแสดงเพียงแนวความคิดเดียว
          2. เรื่องราวเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
          3. การวางแบบ ต้องทำให้ดูง่าย และต้องการเน้นส่วนไหนควรมีเครื่องหมายกำกับไว้ด้วย 
          4. ตัวอักษรของคำที่ใช้อธิบายประกอบแผนภาพควรเขียนให้บรรจงอ่านง่าย
          5. สีที่ใช้ในการเน้น หรือแสดงความแตกต่าง หรือแสดงความหมายไม่ควรใช้สีมากจนเกินไป 
          6. มีขนาดใหญ่พอสมควร อ่านง่าย ไม่แน่นจนเกินไป
          7. ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพควรเป็นภาพที่มองแล้วเข้าใจง่ายมีความหมายในตัวเอง 
          8. มีความหนาทนทานแก่การใช้งานและเก็บรักษาง่าย

การสร้างแผนภาพและองค์ประกอบ
1. การกำหนดโครงงานและโครงสร้างองค์กรต่างๆ
2.กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำและความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นระบบ
3.นำกิจกรรมต่างๆมาแสดงเป็นแผนภาพโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันโดยงานแต่ละงานจะระบุชื่ออยู่ในกล่อง ระบุรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ เช่นชื่อ เวลาที่เพื่อแสดงความเชื่อมโยงของงานกำหนดจุดเวลาและลากเชื่อมจุดเวลาด้วยลูกศรที่แสดงถึงกิจกรรมที่ทำระบุเวลางานที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมนั้นๆไว้บนตัวลูกศรด้วย
4. การระบุเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้โครงการบรรลุผล
5. การแสดงสายงานแสดงถึงลำดับต่อเนื่องของกิจกรรมการทำงานที่มีระยะเวลายาวนานที่สุดและเท่ากับระยะเวลาโครงการ
6. การนำโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันนั้นมาประกอบการกำหนดแผนการทำกิจกรรมต่างๆและการควบคุมการดำเนินงาน

การใช้แผนภาพในกระบวนการสอน
การใช้แผนภาพเป็นสื่อการสอน เป็นตัวกลางในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้สอนสามารถนำสื่อแผนภาพ ไปใช้ในทุกขั้นตอนของการสอน เช่น ขั้นการนำเข้าสู่เรื่อง ขั้นสอนเนื้อหา  ขั้นสรุปบทเรียน ฯลฯ  การใช้แผนภาพประกอบการสอนจะประสบผลสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียม การเลือก และการใช้แผนภาพของผู้สอน
หลักการใช้แผนภาพ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน
1.  การเตรียม ทดลองใช้ และใช้ให้คล่องแคล่ว
2.  การเลือก ให้เหมาะสมกับระดับวัย ระดับสติปัญญา
3.  การใช้ ยกแผนภาพแสดงให้เห็นทั่วกันทั้งชั้นอย่างชัดเจน
4.  การติดตามผล เพื่อทราบว่าผู้เรียน รับความรู้จากสื่อมากหรือน้อย

ประโยชน์การใช้แผนภาพและข้อจำกัด
ประโยชน์
ในด้านของครูใช้แผนภาพได้ดังนี้
   1. แสดงและอธิบายข้อความ     
   2. ใช้บันทึกกลวิธีการคิดในการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่างๆ
   3. ช่วยนักเรียนในการเรียบเรียงความคิดในการเขียน
   4. ช่วยนักเรียนเรียงความคิดก่อนการเขียน
   5. ช่วยนักเรียนวิเคราะห์สารสนเทศต่างๆ6. ช่วยครูเตรียมตนเองในการสอนสารสนเทศใหม่ๆ

ในด้านของนักเรียน..... ใช้แผนภาพดังนี้
   1. วางโครงสร้างในการจดบันทึกสารสนเทศที่สำคัญ
   2. ช่วยสร้างความคิดการอ่าน
   3. ช่วยเน้นความสนใจต่อสิ่งสำคัญที่สุด   
   4. เชื่อมโยงความคิดและมโนทัศน์ต่างๆ
   5. สร้างสรรค์แผนภาพที่จะช่วยให้เข้าใจและอธิบายได้        
   6. ช่วยในการเลือกและวางลำดับโครงสร้างใหม่ และเก็บสารสนเทศไว้
   7. เรียบเรียงความคิดในขั้นเตรียมการก่อนเขียนในกระบวนการเขียน
   8. สรุปความจากสิ่งที่ตนได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งที่รู้แล้ว
ข้อจำกัด
   1. เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
   2. งานกราฟิกที่มีคุณภาพดี  จำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการผลิต
   3. การใช้ภาพบางประเภท  เช่นภาพตัดส่วน  (sectional  drawings)  หรือภาพการ์ตูนอาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจดีขึ้นเพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของจริงได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น