วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แบบฝึกที่ 3 พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900

ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกค.ศ.1700
การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้

1. เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์
ในตอนปลายของศตวรรษที่ ก่อนคริสต์ศักราชนั้น มีกลุ่มนักการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นครูรับจ้างสอนตามบ้านในกรุงเอเธนส์ กรีกโบราณ และเป็นที่รู้จักในนามของกลุ่มElder Sophist คำว่า Sophist หรือ Sophistes ในยุคนั้น (450- 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รู้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ คน คือ โปรตากอรัสจอจิแอสโปรดิคอสฮิปเปียส และทราซีมาคัส ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่าเป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษากลุ่มแรกก็ได้ รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี ขั้นตอนคือ
เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด

เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้

บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง
 หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน (Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน (Mass Instruction) ได้เช่นกัน

2.เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (ค.ศ.399-470โสเครตีส เพลโตและเซโนฟอนลูกศิษย์ของเขาได้ทำการบันทึกวิธีการสอนของเขาไว้ วิธีการของโสเครติสแตกต่างไปจากวิธีการของกลุ่มโซฟิสต์ที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว มาก วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
3. เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์ด
ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ยุโรปเริ่มตื่นตัวในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีใหม่แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงกับการให้ สิทธิแก่ผู้สอนตั้งโรงเรียนในโบสถ์หรือวัดได้ ในบรรดาผู้สอนในโรงเรียนทั้งหมด อเบลาร์ด (ค.ศ.1079-1142) เป็นบุคคลตัวอย่างที่ดีคนหนึ่ง อเบลาร์ด สอนที่ Notre Dame ซึ่งเป็นโรงเรียนวัดในระหว่างปี ค.ศ.1108-1139 ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ยกฐานะเป็น The University of Paris เมื่อ ค.ศ.1180 เขาได้ฝึกนักเรียนของเขา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิดและความรู้ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้างเสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรีวิธีสอนของอเบลาร์ด มีอิทธิพลโดยตรงต่อ Peter Lombard (ค.ศ.1100-1160) และ St. Thomas Aquinas (1225-1274) ซึ่งเขาทั้งสองได้นำแนวคิดของอเบลาร์ด มาปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น

4.
เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุส
Johann Amoss Cominius (1592-1670) 
เกิดในครอบครัวโปรเตสแตนท์ ฐานะปานกลางในโมราเวีย (ปัจจุบันอยู่ในเชคโกสโลวาเกีย) สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเยอรมันนี คอมินิอุส ได้ใช้ชีวิตในฐานะนักบวชและครูอยู่ในโปแลนด์ ฮังการี สวีเดน อังกฤษ และฮอลแลนด์ จนกระทั่งเกิดสงคราม 30 ปี (Thirty Years' War, 1618-1648) ระหว่างคาทอลิค และโปรเตสแตนท์ ชื่อเสียงของคอมินิอุส ในฐานะนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ ได้เริ่มต้นที่เมืองลิสซาในประเทศโปแลนด์ เมื่อ ปี ค.ศ.1627 ในขณะที่เขาเป็นนักบวชและครูอยู่ที่นั่น โดยการเขียนหนังสือสำคัญขึ้นมาหลายเล่ม และต่อมาเขาได้เป็นผู้ร่างหลักสูตรการศึกษาในฮอลแลนด์ และสวีเดน ตลอดจนสร้างโรงเรียนตัวอย่างขึ้นในฮังการีด้วย หนังสือ Great Didactic เป็นหนังสือสำคัญที่สุดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนของ คอมินิอุส (แนวคิดเกี่ยวกับระบบการสอนของคอมินิอุสได้เริ่มเกิดขึ้นที่เมือง Leszneประเทศโปแลนด์ โดยเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเป็นภาษา Czech พิมพ์ครั้งแรกในเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ.1633 และพิมพ์เป็นภาษาลาตินในปี ค.ศ.1657) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนา เขาเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมคนเพื่อดำรงชีพอยู่อย่าง เป็นสุขมากกว่าที่จะให้การศึกษาเพื่อมีอาชีพหรือตำแหน่ง และนอกจากนั้น คอมินิอุสยังมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาเพื่อสังคมมากกว่าที่จะเน้นเรื่องความ สามารถเฉพาะ ดังนั้นเพื่อให้จุดหมายทางการศึกษาของเขาสัมฤทธิ์ผล คอมินิอุส จึงจัดระบบการศึกษาเป็นแบบเปิด สำหรับทุก ๆ คน นับตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ในบรรดาหลักการสอนของคอมินิอุสทั้งหลาย พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1.
การสอนควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาวิชาควรจะเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละคน

2.
ควรสอนผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัย โดยให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคน
3.
จะสอนอะไรควรให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และสอดแทรกค่านิยมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนด้วย
4.
ควรสอนจากง่ายไปหายาก
5.
หนังสือและภาพที่ใช้ความสัมพันธ์กับการสอน
6.
ลำดับการสอนที่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ไม่ควรสอนภาษาต่างประเทศก่อนสอนภาษามาตุภูมิ
7.
ควรอธิบายหลักการทั่วไปก่อนที่จะสรุปเป็นกฎ ไม่ควรให้จดจำอะไรโดยที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้น
8.
การสอนเขียนและอ่าน ควรสอนร่วมกัน นั่นก็หมายความว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนควรสัมพันธ์กันเท่าที่จะทำได้
9.
ควรเรียนรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส โดยสร้างความสัมพันธ์กับคำ
10.ครู
เป็นผู้สอนเนื้อหา และใช้ภาพประกอบเท่าที่ทำไป
11.
สิ่งต่าง ๆ ที่จะสอนต้องสอนไปตามลำดับขั้นตอนและในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้มากกว่าหนึ่งอย่าง
12.
ไม่ควรมีการลงโทษเฆี่ยนตีถ้าผู้เรียนประสบความล้มเหลวในการเรียน
13.
บรรยากาศในโรงเรียนต้องดี ประกอบด้วยของจริง รูปถ่าย และครูที่มี ใจโอบอ้อมอารี
     จากหลักการสอนคอมินิอุสที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคอมินิอุส เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีการศึกษาและการสอนสมัยใหม่ ตัวอย่างหลักการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของคอมินิอุส เราจะเห็นได้จากหนังสือ Orbus Pictus ของเขา หนังสือออบัส พิคตุส หรือโลกในรูปภาพ พิมพ์ที่เมือง Nurenberg เมื่อปี ค.ศ.1658 สำหรับเด็ก ๆ ที่เรียนลาตินและวิทยาศาสตร์ จัดว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกที่มีภาพประกอบบทเรียนมากถึง 150 ภาพ โดยภาพหนึ่ง ๆ จะใช้สำหรับบทเรียนบทหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาในหนังสือนี้ได้แก่ พระเจ้า โลก อากาศ ต้นไม้ มนุษย์ ดอกไม้ พืชผัก โลหะ และนก เป็นต้น หนังสือ ออบัส พิคตุส เป็นที่นิยมใช้ติดต่อกันมาอีกหลายร้อยปีและปรากฏว่า เมื่อปี ค.ศ.1810 หนังสือนี้ยังมีการซื้อขายกันอยู่ในสหรัฐอเมริกา 

เทคโนโลยีการศึกษาของแลนตาสเตอร์
Joseph Lancaster (1778-1838) 
ได้ริเริ่มการสอนระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) อันยังผลให้เขาประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาในยุคนั้น วิธีการของเขาก็คือ การจัดสภาพห้องเรียนและดำเนินการสอนแบบประหยัด รวมถึงการจัดระบบเนื้อหาวิชาที่เรียนโดยพิจารณาถึงระดับชั้น สำหรับการสอนนักเรียนเป็นชั้นหรือเป็นกลุ่ม แนวคิดของเขาได้รับอิทธิพลมาจากคอมินิอุส และวิธีการของพระเยซูคริสต์ จึงทำให้เขาศึกษาการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน วิธีการของเขารู้จักกันในนามของLancaster's Method และจัดว่าเป็นรากฐานสำคัญของระบบทฤษฎีการเรียนรู้อีกด้วย แนวคิดของเขานอกจากจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางแนวคิดของคอมินิอุสดังกล่าวมา แล้ว เขายังยอมรับแนวคิดของ John Locke ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในขณะนั้นด้วย
 วิธีการสอนของแลนคาสเตอร์ พยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาถูกและประหยัด แม้แต่ห้องเรียนก็จุนักเรียนได้มากกว่า วัสดุที่ใช้ เช่น กระดานชนวน กระบะทราย แผนภูมิ ผนังและกระดานดำ ทำให้ประหยัดกระดาษและหมึกได้มากกว่า และนอกจากนั้นทางโรงเรียนยังจัดหนังสือที่ใช้เรียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำ เป็นอีกด้วย ดังนั้นวิธีการของเขาจึงเป็นการริเริ่มการสอนแบบมวลชน และเป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าของรัฐในเวลาต่อมาด้วย วิธีสอนของแลนคาสเตอร์ มีรายละเอียดที่สำคัญอยู่ ประการ คือ
1.
การสอนความจำด้วยการท่องจำเนื้อหา

2.
การฝึกแบบมีพี่เลี้ยง
3.
การควบคุม
4.
การจัดกลุ่ม
5.
การทดสอบ
6.
การจัดดำเนินการหรือบริหาร
ภายใต้การจัดดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ครูคนหนึ่ง ๆ จะสามารถสอนกลุ่มหัวหน้านักเรียนได้ถึง 50 คน (หัวหน้านักเรียนคือพี่เลี้ยง) และหัวหน้านักเรียนแต่ละคนจะสามารถฝึกนักเรียนได้ 10 คน ดังนั้นครูคนหนึ่ง ๆ ก็จะสามารถสอนนักเรียนจำนวน 500 คนหรือมากกว่านั้นได้ในเวลาเดียวกัน วิธีนี้ได้ปฏิบัติต่อกันมา จนกระทั่งค้นพบวิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) ในภายหลัง

เทคโนโลยีการศึกษาของเปสตาลอสซี
Johann Heinrich Pestalozzi (1746-1827) 
เกิดที่เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ชีวิตการศึกษาของเขาในเบื้องต้นนั้น มุ่งที่จะออกไปเป็นนักกฎหมายแต่ด้วยอิทธิพลของสังคมและความคิดทางการศึกษา ของ Jean Jacgues Rousseau (1712-1778) เขาจึงเปลี่ยนวิถีทางชีวิต ไปศึกษาหลักการทางการศึกษาจากหนังสือEmile ของรุสโซ เขาเริ่มการทดลองที่บ้านของเขาใกล้ ๆ กับหมู่บ้าน Birrfield (1774-1780) ต่อจากนั้นก็มาทำการทดลองต่อในโรงเรียนที่ Stanz (1798) Burgdorf (1799-1804) และ Yverdon (1805-1825) อันเป็นที่ที่เขาทำงานครั้งสำคัญที่สุด ทฤษฎีทางการศึกษาของเปสตาลอสซี เป็นที่รู้จักกันดีจากคำพูดของเขาเอง คือ "I wish to psychologize Instruction" ซึ่งหมายถึง การพยายามทำให้การสอนทั่วไปเข้ากันได้กับความเชื่อของเขาอย่างมีระเบียบและ ปรับปรุงพัฒนาไปด้วยกัน เขารู้สึกว่าศีลธรรม สติปัญญาและพลังงานทางกายภาพของผู้เรียนควรจะได้รับการคลี่คลายออกมา โดยอาศัยหลักธรรมชาติในการสร้างประสบการณ์อย่างเป็นขั้นตอน จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เปสตาลอสซีเชื่อว่า กระบวนการสอนโดยการเพิ่มความรู้สึกต่อความรู้ในเรื่องความเจริญเติบโตและ พัฒนาการของเด็กนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังคำนึงถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลอันจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียนด้วย เปสตาลอสซี ได้เสนอแนะกระบวนการของการรับความรู้ของผู้เรียนเป็น ขั้นตอน คือ

1.
ให้รู้ในเรื่องส่วนประกอบของจำนวน (เลขคณิต)

2.
ให้รู้ในเรื่องของรูปแบบ (Form) เช่น การวาด การเขียน เป็นต้น

3.
ให้รู้จักชื่อ และภาษาที่ใช้
นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังมีความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1.
รากฐานสำคัญยิ่งของการให้ความรู้ก็คือ การหัดให้นักเรียนรู้จักใช้การสังเกต (
Observation and Sense-Perception)
2.
การ เรียนภาษา ครูต้องพยายามให้นักเรียนใช้การสังเกตให้มากที่สุด นั่นคือ เมื่อเรียนถ้อยคำก็ต้องใช้คู่กับของจริงที่เขาใช้เรียกชื่อสิ่งนั้น

3.
การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ
4.
เวลาเรียนต้องให้นักเรียนเรียนจริง ๆ อย่าเสียเวลาไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เหล่านั้น
5.
ให้เวลาเพียงพอแก่นักเรียนแต่ละคน
6.
ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
7.
ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน
แนวความคิดของเปสตาลอสซีนี้ นอกจากจะมีอิทธิพลในสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อวงการศึกษาในยุโรปด้วย โดยเฉพาะในประเทศเยอรมันนีนั้น ฟรอเบลเป็นบุคคลหนึ่งที่ยอมรับแนวคิดของเปสตาลอสซี 

เทคโนโลยีทางการศึกษาของฟรอเบล

Friedrich Wilhelm Froebel (1782-1852) 
เป็นนักการศึกษา ซึ่งได้เจริญรอยตามความคิดเห็นของเปสตาลอสซี ฟรอเบล เกิดที่เมือง oberwcissbach ประเทศเยอรมันนี และได้ร่วมงานด้านการสอนกับเปสตาลอสซี ที่ฟรังเฟิท เขารู้สึกพอใจและสนใจมาก โดยเฉพาะการสอนเด็กเล็ก ทำให้ฟรอเบลมีความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะปฏิวัติการศึกษาของเด็กเสียใหม่ จึงกลับไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เมื่อจบการศึกษาแล้วได้ออกมาตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นเป็นแห่งแรกที่เมืองแบลง เกนเบอร์ก (Blankenburg)ในปี ค.ศ. 1837ฟรอเบลมีความเชื่อในเรื่องศาสนาเป็นพื้นฐาน เขาเห็นว่าการเกิดของแร่ธาตุก็ดี การเจริญเติบโตของต้นไม้ก็ดี ตลอดจนพัฒนาการของเด็กทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากพระเจ้าดังนั้นจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาก็คือการควบคุมดูแลเยาวชนให้เติบโตเป็น ผู้ใหญ่เท่านั้นเช่นเดียวกับจุดมุ่งหมายของคนทำสวนคือการควบคุมดูแลต้นไม้ ต้นเล็ก ๆ ไปจนมันเจริญเติบโตออกดอกผลในที่สุด อย่างไรก็ตาม การควบคุมดูแล (Control) ตามแนวคิดของฟรอเบลนี้ ยังมีความหมายกว้างออกไปถึงการควบคุมพัฒนาการต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับชีวิตจริงในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย องค์ประกอบพื้นฐานในการให้การศึกษาแก่เด็กของฟรอเบล มีอยู่ ประการคือ
1.
ให้โอกาสผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างเสรี

2.
ให้โอกาสผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์
3.
ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
4.
ให้ ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางกลไกหรือกายภาพ อันได้แก่ การเรียนโดยการกระทำ (To Learn a thing by doing not through verbal Communications alone)วิธีสอนของฟรอเบลเน้นที่การสอนเด็กอนุบาล ดังนั้นการสอนจึงออกมาในรูปการเรียนปนเล่น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญอยู่ ประการคือ
1.
การเล่นเกมและร้องเพลง

2.
การสร้าง
3.
การให้สิ่งของและใช้งาน
การร้องเพลงและการเล่นเกม เป็นการสร้างกำลังให้เกิดขึ้นในเด็ก ส่วนการสร้างได้แก่ การวาดภาพ การตัดกระดาษ การทำหุ่น ฯลฯ เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมและคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆส่วนการให้สิ่งของและการให้งานนั้น เป็นขั้นสุดท้ายของฟรอเบล สำหรับการสอนเด็กเล็ก เช่น เริ่มจากการให้เล่นลูกบอล ต่อมาก็ให้วัตถุสามมิติรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เริ่มคิดสรรค์สร้างตามจินตนาการของเขา

เทคโนโลยีการศึกษาของแฮร์บาร์ท

แฮร์บาร์ท เป็นนักการศึกษาคนหนึ่งที่สืบทอดเจตนารมย์ของคอมินิอุสและเปสตาลอสซีนักการ ศึกษาทั้งสอง และได้ชี้ให้เห็นแนวทางในการสร้างความคิดรวบยอดใหม่จากความคิดรวบยอดเดิม นอกจากนั้น แฮร์บาร์ทยังได้เน้นในเรื่องของจริยธรรม (Moral) โดยถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาและเขาจะใช้อุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายข้างต้น ดังนี้จะเห็นว่าแนวคิดของเขาก็มีอิทธิพลแนวคิดของฟรอเบลแทรกอยู่ไม่น้อย ทฤษฎีทางการศึกษาของแฮร์บาร์ท ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากนักการศึกษา รุ่นก่อน ๆ กล่าวคือ แฮร์บาร์ทได้วางรากฐานเกี่ยวกับวิธีสอนของเขาโดยอาศัยระบบจิตวิทยาการเรียน รู้นับได้ว่าเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่เป็นคนแรกที่สอด คล้องกับวิธีการของ Locke ที่เรียกว่า Tabula Rasa (Blank Tablet) เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิต และได้สรุปลำดับขั้นสองการเรียนรู้ ไว้ ประการ ดังนี้
1. 
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทางวิถีประสาท (Sense Activity)
2. 
จัดรูปแบบแนวความคิด (Ideas) ที่ได้รับ

3. 
เกิดความคิดรวบยอดทางความคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น







จัดทำโดย
นางสาวนวลจันทร์  ษรสกุลทรัพย์ 035

นางสาวเจนจิรา  คำสุข  046
นางสาวอัญชลี  ทรัพย์มงคล  058
นางสาวลัดดาภรณ์  ภูแสง  059
นางสาวพัชธิดา  สลางสิงห์  061

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น