สกุลเงินในประเทศสมาชิกอาเซียน
(ASEAN CURRENCY)
ความเป็นมา :
สกุลเงินในประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN CURRENCY)
สกุลเงินคือหน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงินตรา สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ
โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกันจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง
เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน “สกุลเงิน”ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงินในแต่ละกลุ่มประเทศ
การใช้ภาษาจึงเป็นเรื่องสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ด้านการค้า
ซึ่งมีความจำเป็นที่เราต้องรู้จักและเรียนรู้สกุลเงินของแต่ละประเทศเพื่อการค้าเสรีในอนาคต
สกุลเงินอาเซียน ของเรายังไม่ได้มีการกำหนดสกุลเงินกลาง
ซึ่งจะสามารถใช้กันได้ทั้งอาเซียน 10 ประเทศ โดยแต่ละประเทศยังจะใช้สกุลเงินของตนเองต่อไป
ซึ่งเมื่อเดินทางข้ามประเทศจะต้องใช้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศนั้นๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1.
สกุลเงินของบรูไน – ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar, BND)
เงินดอลลาร์บรูไนมีการออกธนบัตรที่มีมูลค่า
1, 5, 10, 50, 100,
500, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1.3 BND ต่อดอลลาร์สหรัฐ
*1 ดอลล่าร์บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาทไทย
2.
สกุลเงินของกัมพูชา – เรียล (Cambodian Riel, KHR)
เงินเรียลกัมพูชา
มีการผลิตทั้งเหรียญและธนบัตรหลายระดับราคาออกมาใช้งาน คือ 50, 100, 200, 500, 1,000, 2,000, 5,000,
10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 เรียล
*อัตราแลกเปลี่ยนราว 4,000 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ
*อัตราแลกเปลี่ยน127 เรียล
เท่ากับประมาณ 1 บาท
3.
สกุลเงินของมาเลเซีย – ริงกิต (Ringgit, MYR)
เงินริงกิตมาเลเซียถูกผลิตออกมาใช้งานหลายระดับราคาคือ
1, 5, 10, 20, 50 และ 100 ริงกิต
*อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ
10 บาท หรือราว 3.2 MYR ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
4.
สกุลเงินของพม่า – จ๊าต (Myanmar Kyat, MMK)
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด,
50 จ๊าด, 100 จ๊าด,
200 จ๊าด, 500 จ๊าด,
1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
*อัตราแลกเปลี่ยน 26-32 จ๊าดเท่ากับประมาณ
1 บาทไทย หรือราว 1,000
จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐ
5.
สกุลเงินของฟิลิปปินส์– เปโซ (Philippine Peso, PHP)
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ,
50 เปโซ, 100 เปโซ ,
200 เปโซ,
500 เปโซ และ 1,000 เปโซ
*อัตราแลกเปลี่ยน 1.40 เปโซ
เท่ากับประมาณ 1 บาท หรือราว 44
เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ
6.
สกุลเงินของอินโดนีเซีย– รูเปียห์ (Indonesian Rupiah, IDR)
ราคาของธนบัตรรูเปียห์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ
1,000, 2,000, 5,000,
10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 รูเปียห์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์
เท่ากับประมาณ 3 บาท หรือ
ราว 370 IDR ต่อบาทไทย หรือ 11,700 IDR ต่อดอลลาร์สหรัฐ
7.
สกุลเงินของไทย – บาท (Thai Baht, THB)
ธนบัตรเงินบาทไทยมีผลิตออกมาใช้งานในระดับราคา
20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท
*อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยนั้นราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
8.
สกุลเงินของสิงคโปร์ – ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar,
SGD)
ธนบัตรดอลลาร์สิงคโปร์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ
2, 5 10, 50, 100,
1,000 และ 10,000 ดอลลาร์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์
เท่ากับประมาณ 25 บาท หรือราว.3
SGD ต่อดอลลาร์สหรัฐ
9. สกุลเงินของลาว – กีบ (Laotian Kip, LAK)
ธนบัตรเงินกีบที่มีการผลิตออกมาใช้งานคือ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000 และ
50,000 กีบ
*อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ
4 บาทไทย หรือ 250 กีบต่อหนึ่งบาท
หรือราว 8,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ
10.
สกุลเงินของเวียดนาม – ด่ง (Vietnam Dong, VND)
ธนบัตรเงินด่งที่ผลิตออกมาใช้งานคือ
1,000 ,2,000, 5,000,
10,000, 20,000, 50,000, 100,000, 200,000 และ 500,000 ด่ง
*อัตราแลกเปลี่ยน 652 ด่ง
เท่ากับประมาณ 1 บาทไทย หรือ ราว 21,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ
หลักการออกแบบโปสเตอร์
หลักการทั่วไปในการออกแบบโปสเตอร์มี 2
เรื่องที่สำคัญ คือ สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อน การออกแบบโปสเตอร์และการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบโปสเตอร์
สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบโปสเตอร์ โปสเตอร์
ก่อนออกแบบโปสเตอร์นั้น
มีเรื่องต้องกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้
1.
การกำหนดขนาดและรูปแบบของโปสเตอร์
แม้ว่าโปสเตอร์จะสามารถผลิตได้ในทุกขนาดและรูปแบบแต่ในการกำหนดขนาดและรูปแบบนั้น จะต้องคำนึงถึงความประหยัดใน
ด้านต้นทุน การพิมพ์และการผลิต ซึ่งต้นทุนที่สำคัญคือค่ากระดาษที่ ใช้ในการพิมพ์การกำหนดขนาดที่ทำให้เกิดการตัดกระดาษได้โดยไม่เศษเหลือหรือเหลือเศษน้อยจึงเป็น
เรื่องที่ควรคำนึงถึง ยิ่งต้องการผลิตโปสเตอร์เป็น จำนวนมาก
ก็จะยิ่งคิดถึงเรื่องนี้ โปสเตอร์โดยทั่วไปจะ มีขนาดเป็นที่นิยมใช้กันเป็นขนาดมาตรฐาน
เช่น A1,
A2, A3 หรือขนาด 31x21 นิ้ว, 51x21 นิ้ว เป็นต้น
2.
รูปแบบภาพประกอบ รูปแบบของภาพประกอบในโปสเตอร์นั้นสามารถเป็น
ไปได้ทุกลักษณะ ทั้งนี้ตัวแปร ที่ต้องคำนึง ถึงคือความเหมาะสมในการนำ
เสนอความคิดที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้ดูเพราะลักษณะของภาพประกอบ แต่ละแบบย่อมแสดงออกซึ่งบุคลิก
ลักษณะเฉพาะตัว เช่น ภาพสีฝุ่นจะดูนุ่มนวลชวนฝัน ขณะที่ภาพ คอมพิวเตอร์กราฟิกจะดูทันสมัย
เป็นต้น นอกจากนี้ระบบการพิมพ์ที่เลือกใช้ เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ที่มีผล ต่อการตัดสินใจเลือก
รูปแบบของภาพประกอบ
3.
รูปแบบของตัวอักษร
โปสเตอร์ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นโปสเตอร์โฆษณานั้น จะมีส่วนที่เป็นตัวอักษรไม่มากนัก ทำ
ให้มีอิสระใน การใช้ตัวอักษรค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อโปสเตอร์นั้นใช้ตัวอักษรเป็นองค์ประกอบหลัก
รูปแบบของ ตัวอักษรควรจะเลือกให้เหมาะสมกับบุคลิกของสินค้าหรือองค์กร
โดยพาดหัวนั้นจะใช้ตัวพิพม์มีหัวหรือ ไม่มีหัว หรือตัวตกแต่งก็ได้
หรือนักออกแบบอาจจะเลือกประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีลักษณะเฉพาะตัวขึ้นมา ใหม่เป็นการเฉพาะก็ได้
เนื่องจากพาดหัวมักเป็นข้อความที่มีขนาดสั้นๆ เท่านั้น ถ้าหากมีตัวเนื้อหา ก็ ควรจะเลือกใช้ตัวอักษร
หรือตัวพิพม์ที่อ่านง่ายกว่า เพราะเนื้อหามีตัวอักษรมากกว่าพาดหัว โดยเฉพาะ โปสเตอร์ที่มีเนื้อหามาก
เช่น โปสเตอร์การวิจัย ซึ่งควรเลือกตัวอักษรเนื้อหาเป็นตัวพิพม์ที่อ่านง่าย
องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบ ในการออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโปสเตอร์มีความซับซ้อนน้อยกว่าการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ
ที่ได้กล่าวไปแล้ว ข้างต้น ทั้งนี้เพราะมีทั้งส่วนประกอบ
และเนื้อหา น้อยกว่า โดยมีรายละเอียดพิเศษดังนี้
1.
รูปภาพ (Picture)
ในการออกแบบโปสเตอร์นั้น นิยมใช้ภาพเป็นภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว
เพื่อสื่อความหมาย และ ดึงดูดความสนใน ทั้งนี้ อาจมีภาพประกอบขนาดเล็กๆ
แทรกอยู่กับข้อความด้วยก็ได้ แต่ไม่นิยมใช้ภาพ ขนาดเท่าๆ กันหลายๆ ภาพ เพราะจำทำ
ให้โปสเตอร์นั้นขาดจุดเด่นและความน่าสนใจ ยกเว้น โปสเตอร์การศึกษา
โปสเตอร์ในห้องเรียน และโปสเตอร์เพื่อการวิจัย ที่อาจมีภาพที่เด่นเท่ากันหลายๆ ภาพได้
เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจประเด็นที่มีอยู่หลายๆ หัวข้อ
2.
พาดหัว (Headline)
พาดหัวเป็นข้อความที่โดยมากมักจะสั้น
นิยมมี่จะใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มาก ตั้งแต่ 72pt. ขึ้นไปจนถึง ขนาดใหญ่หลายๆนิ้ว
เนื่องจากจะต้องสื่อสารได้ด้วยการมองระยะไกล นอกจากนี้ ยังควรจัดวางไว้ใน ตำแหน่งที่โดดเด่น
ลักษณะของแบบตัวอักษรที่ใช้นั้นเป็นไปได้ทุกรูแบบ ในกรณีที่พาดหัวเป็นข้อความ สั้นๆ
อ่านไม่ยาก เข้าใจได้ง่าย บางครั้งนักออกแบบอาจออกแบบตัวอักษรขึ้นมาใหม่
เพื่อใช้เป็นพาดหัว ของโปสเตอร์นั้นๆ โดยเฉพาะเลยก็ได้
แต่หากเป็นพาดหัวที่มีความยาวหรือมีหลายบรรทัด ก็ควรเลือก ตัวพิพม์ที่ง่ายแก่การอ่านให้จบในการมองเพียงครั้งเดียว
3.
พาดหัวรอง (Sub
Headline) พาดหัวรอง (SubHeadline) นิยมใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่รองจากพาดหัว ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยง พาดหัว
ไปยังเนื้อเรื่องในโปสเตอร์ ใช้ในกรณีที่พาดหัวไม่สามารถจะให้รายละเอียดได้เพียงพอ
จึง จำ เป็นที่จะต้องมีการขยายความให้กระจ่างขึ้น
4.
เนื้อหาหรือรายละเอียด
(Body
text) แม้ว่าข้อมูลในส่วนของรายละเอียดในโปสเตอร์จะไม่ใช่พาดหัว
แต่ก็ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัว อักษรที่ใช้เป็นข้อความในสื่ออื่นๆ คือ
ควรมีขนาดอย่างน้อยตั้งแต่ 18pt. ขึ้นไป
ทั้งนี้ ก็เพราะระยะห่าง ที่ผู้ดูยืนมองดูโปสเตอร์นั้นค่อนข้างไกลกว่าการพิมพ์ชนิดอื่นๆ
การจัดวางเนื้อหาของโปสเตอร์มักจะเน้น ความสะดวกในอ่านอ่านข้อมูล
โดยมากแล้วโปสเตอร์ 1 ใบจะมีเนื้อหาไม่มากนัก ยกเว้น
โปสเตอร์การ ศึกษา โปสเตอร์ในห้องเรียน และโปสเตอร์เพื่อการวิจัย
ส่วนการจัดวางส่วนเนื้อหา นิยมใช้การจัดวาโดย มีระบบ กริด เข้ามาช่วย
5.
ตราสัญลักษณ์ (Logo)
หากต้องการวางตราสัญลักษณ์องค์กร ปกติจะนิยมวางในส่วนล่าง
และควรระมัดระวังเรื่องของขนาดให้ ไม่ควรใหญ่มาก ไปแย่งความสำคัญกับภาพหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น