วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


แฟ้มสะสมผลงาน
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Innovation and Information Technology in Education


โดย
นางสาวพัชธิดา  สลางสิงห์ รหัส 5810111203061
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1 หมู่ 2


เสนอ
อาจารย์ทรงศักดิ์   สุริโยธิน


วิทยาลัยการฝึกหัดครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2558













สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

·  สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) 
   เรื่องคำกล่าวทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
            เนื้อหาที่จะสอน
ความหมายของอาเซียน
คำว่า“ASEAN” เป็นคำย่อมาจาก“Association of Southeast Asian Nations” แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า“สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่มาของชื่อ“ASEAN” ปรากฏในคำประกาศปฏิญญาอาเซียนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่สิงหาคม 2510 ว่า “รัฐมนตรีแห่งสภาเพรซิเดียมด้านการเมือง/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย รองนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ประกาศ ณ ที่นี้ให้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความร่วมมือแห่งภูมิภาคสาหรับประเทศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ใช้ชื่อว่าAssociation of Southeast Asian Nations (ASEAN)” และคำว่า “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นการสร้างสังคมภูมิภาคให้พลเมืองของทั้งสิบรัฐสมาชิกอาเซียนอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตรในครอบครัวเดียวกัน หรือเป็นเพื่อนร่วมชุมชนคนหมู่บ้านเดียวกัน อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา  อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและเป็นตัวอย่าง ของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียน มีปัจจัยจากความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน ทาให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็นมาสู่ ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน 
คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน(Greeting or say Goodbye in Asean )
ประเทศกัมพูชา( Cambodia)     
คำทักทาย : ซัวสเด
คำกล่าวลา :
  เรียนซันเฮย
ลักษณะการแสดงออก : การทักทายของชาวกัมพูชาจะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก
ประเทศฟิลิปปินส์(Philippine)     
คำทักทาย : กูมุสตา
คำกล่าวลา :
 ปาลาม          
ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ
ประเทศพม่า (Myanmar)                                              
คำทักทาย : มิงกะลาบา
คำกล่าวลา:
ตาตา 
ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า มิงกะลาบา

ประเทศอินโดนีเซีย(Indonesia)        
คำทักทาย : ซาลามัตเซียง
คำกล่าวลา:
ซาลามัดจาลัน                                               
ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia )
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา:
 ซือลามัต ติงฆัล 
ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
ประเทศบรููไน (Brunei)    
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา :
ซือลามัต ติงฆัล      
ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่าซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง

ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
คำทักทาย : ซินจ่าว
คำกล่าวลา:
ตามเบียด                                              
ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่

ประเทศลาว( laos)
คำทักทาย : สบายดี
คำกล่าวลา:โซกดี
ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย

ประเทศไทย ( Thailand)
คำทักทาย : สวัสดี
คำกล่าวลา ลาก่อน
ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ประเทศสิงคโปร์(Singapore) 
คำทักทาย : หนีห่าว
คำกล่าวลา :จ๊ายเจี๊ยน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ
 

      วัตถุประสงค์
1.เพื่อสอนให้ทราบคำทักทายและคำกล่าวลาในประเทศอาเซียน
2.เพื่อสอนให้ทราบลักษณะการทักทายของประเทศในอาเซียน
3.เพื่อให้ทราบที่มาของการทักทายในอาเซียน
·       แผนการสอน
            1. สอน  1คาบ 
2. สอน1 ชั่วโมงครึ่ง
3.             1 คาบสอนเรื่อง  คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
4.             เทคนิคการสอน 
4.1       แนะนำสื่อที่จะสอนนักเรียนใน  1 คาบ
4.2       ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนก่อนที่จะสอนเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
-สอนนักเรียนในเรื่องของคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนว่าพูดแบบไหน อ่านอย่างไร ลักษณะการทักทายเป็นอย่างไร
4.3      สรุปให้นักเรียนฟังเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนอีกครั้ง
4.4      จากนั้นทบทวนบทเรียนด้วยการให้ทำเกมอาเซียน
4.5      ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหลังเรียนอีกครั้งเพื่อวัดความรู้ของนักเรียน

·       วิธีการและรูปแบบการสอน
ขั้นที่ 1  ขั้นเร่งเร้าความสนใจ 
                -โดยการนำเสนอด้วยรูปภาพที่น่าสนใจการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นบอกวัตถุประสงค์
                - บอกวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสอนในบทเรียน
                - บอกเนื้อหาที่ต้องการจะสอน
ขั้นที่ 3 ขั้นทบทวนความรู้เดิม
                - นำเสนอเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน
                - ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN) ?
 - One Vision, One Identity, One Community? หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคมข้อความนี้มีชื่อเรียกอย่างไร
                - อาเซียนก่อตั้งเมื่อใด ?
                -สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร?
                -กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดให้ภาษาใดเป็นภาษาราชการของอาเซียน
                -ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอเนื้อหาใหม่
ขั้นที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้
                -โดยอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดบอกลักษณะของการทักทาย
ขั้นที่ 6 กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
                -โดยการถามคำถาม ระหว่างการนำบทเรียน
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ
                - สังเกตการสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นผู้เรียนโดยการนำ
เสนอที่สนุกสนาน
ขั้นที่ 8 ทดสอบความรู้ใหม่
                - โดยการทำแบบทดสอบหลังเรียน
                -“ซัวสเด”เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
               -“จ๊ายเจี๊ยน” เป็นคำลาของประเทศใด
               -ซาลามัดจาลัน เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
               -ปาลาม เป็นคำลาของประเทศใด
               -ซินจ่าว เป็นคำทักทายประเทศใด
ขั้นที่ 9 ขั้นสรุปและการนำไปใช้
                การสรุปและนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหา  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว  
   
ขั้นตอนและกระบวนการผลิต
1.             การกำหนดหัวเรื่องที่จะทำ
2.             ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำ CAI
3.             วางแผนว่าควรทำ CAI แบบใดและออกแบบอย่างไร
4.             ทำสตอรี่บอร์ดขึ้นว่าเพื่อเป็นโครงร่างในการทำ CAI
5.             จากนั้นเปิดโปรแกรม PowerPoint แล้วออกแบบ CAI ให้สวยงาม
6.             เมื่อสร้าง CAI เรียบร้อยแล้วก็นำไปทดลองสอนกับเพื่อนกลุ่ม 3 คน
7.             จากนั้นให้เพื่อนประเมินความพึงพอใจ สรุปผลในการทำ CAI
8.             นำ CAI ไปใช้กับเพื่อนๆ และสามารถนำไปสอนบุคคลอื่นได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
o   สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 
o   ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง 
o   ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ 
o   ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน  มีโอกาสเลือกตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที 
o   ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ 
o   ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ 
o   ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล 
o   สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน 
o   สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ 
o   ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน 
o   ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
o   ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

ข้อดี
o   สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 
o   ดึงดูดความสนใจ
o   ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ 
o   ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ
o   ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้

ข้อเสีย
o   การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ 
o   ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด 
o   ใช้เวลาในการพัฒนานาน 
o   การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน
ข้อเสนอแนะ
-ในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ก่อนเรียนผู้สอนควรมีการแนะนำให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการใช้บทเรียน รวมทั้งขั้นตอนในการศึกษาบทเรียน เพราะผู้เรียนบางคนไม่คุ้นเคย
- เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรนำเสนอบทเรียน จากเรื่องง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

- จากการศึกษาพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะนำมาใช้กับบทเรียนของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นเครื่องมือที่มีความพร้อมในด้านของหน่วยความจำ และระบเสียง เพราะอาจจะทำให้ภาพช้า หรือเสียงไม่สม่ำเสมอได้ เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นการนำเสนอด้วยสื่อผสม เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนให้ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด






จัดทำโดย
นางสาวเบญจวรรณ  บุญมา     รหัส 5810111203052
นางสาวพัชธิดา สลางสิงห์        รหัส 5810111203061
นางสาวนันท์ภรณ์   จันทร์เชื้อ  รหัส 5810111203065
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1 หมู่ที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การศึกษาสื่อการเรียนการสอน (แผนภาพ)

การศึกษาสื่อการเรียนการสอน (แผนภาพ)

แผนภาพ  (Diagram)
          ความหมายของแผนภาพ
แผนภาพ ( Graphic Organizers )  คือ การใช้แผนภาพแสดงเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง คำหรือความคิดในภารกิจแห่งการเรียนรู้ บางครั้งก็เรียกว่า แผนที่ความรู้ ( Knowledge maps )  แผนที่มโนทัศน์ ( Concept maps ) แผนที่เรื่อง ( Story maps ) แผนภาพความคิด ( Cognitive maps ) หรือแผนผัง   มโนทัศน์ ( Concept diagrams )( Hall and Strangman2004 )  หรือในอีกความหมายหนึ่ง  แผนภาพคือวิธีการใช้ภาพสร้างองค์ความรู้และเรียบเรียงสารสนเทศ  ช่วยย่นย่อสารสนเทศที่มีอยู่มากมาย และดูประหนึ่งไม่สัมพันธ์กัน  ให้เป็นโครงสร้างที่อ่านง่าย  ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายต่อการเข้าใจ ( Enchanted Learning 2010 )เป็นทัศนวัสดุที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ต่างๆ โดยแสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น แผนภาพแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

1. แผนภาพลายเส้นเป็นแผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรง และข้อความประกอบกัน เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งลักษณะและตำแหน่ง และความสัมพันธ์ ของภาพที่แสดง


2.แผ่นภาพแบบบล็อกเป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ แสดงความสัมพันธ์ของระบบการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยไม่เน้นรายละเอียดของการทำงาน




3.แผนภาพแบบรูปภาพเป็นแผนภาพ ที่ใช้ลายเส้นเขียน เป็นภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงต้องการให้ดูเหมือนหรือใกล้เคียงเท่านั้น ผู้ดูจะเกิด ความเข้าใจ ได้เองแผนภาพแบบนี้ จึงเหมาะ แก่การแสดง หลักการทำงาน ถ้าภาพ ที่วาดเหมือนจริง มากจะกลายเป็น แผนภูมิอธิบายภาพ



4. แผนภาพแบบผสมเป็นแผนภาพ ที่ใช้เทคนิค การเขียนลายเส้น บนรูปภาพเพื่อเน้น ให้เห็นความสำคัญ เฉพาะ บางส่วน โดยเป็นการรวม ทั้งรูปภาพ และลายเส้น เข้าด้วยกัน



ลักษณะของแผนภาพที่ดี              
            1. เป็นแบบง่าย ๆ และแสดงเพียงแนวความคิดเดียว
          2. เรื่องราวเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
          3. การวางแบบ ต้องทำให้ดูง่าย และต้องการเน้นส่วนไหนควรมีเครื่องหมายกำกับไว้ด้วย 
          4. ตัวอักษรของคำที่ใช้อธิบายประกอบแผนภาพควรเขียนให้บรรจงอ่านง่าย
          5. สีที่ใช้ในการเน้น หรือแสดงความแตกต่าง หรือแสดงความหมายไม่ควรใช้สีมากจนเกินไป 
          6. มีขนาดใหญ่พอสมควร อ่านง่าย ไม่แน่นจนเกินไป
          7. ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพควรเป็นภาพที่มองแล้วเข้าใจง่ายมีความหมายในตัวเอง 
          8. มีความหนาทนทานแก่การใช้งานและเก็บรักษาง่าย

การสร้างแผนภาพและองค์ประกอบ
1. การกำหนดโครงงานและโครงสร้างองค์กรต่างๆ
2.กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำและความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นระบบ
3.นำกิจกรรมต่างๆมาแสดงเป็นแผนภาพโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันโดยงานแต่ละงานจะระบุชื่ออยู่ในกล่อง ระบุรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ เช่นชื่อ เวลาที่เพื่อแสดงความเชื่อมโยงของงานกำหนดจุดเวลาและลากเชื่อมจุดเวลาด้วยลูกศรที่แสดงถึงกิจกรรมที่ทำระบุเวลางานที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมนั้นๆไว้บนตัวลูกศรด้วย
4. การระบุเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้โครงการบรรลุผล
5. การแสดงสายงานแสดงถึงลำดับต่อเนื่องของกิจกรรมการทำงานที่มีระยะเวลายาวนานที่สุดและเท่ากับระยะเวลาโครงการ
6. การนำโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันนั้นมาประกอบการกำหนดแผนการทำกิจกรรมต่างๆและการควบคุมการดำเนินงาน

การใช้แผนภาพในกระบวนการสอน
การใช้แผนภาพเป็นสื่อการสอน เป็นตัวกลางในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้สอนสามารถนำสื่อแผนภาพ ไปใช้ในทุกขั้นตอนของการสอน เช่น ขั้นการนำเข้าสู่เรื่อง ขั้นสอนเนื้อหา  ขั้นสรุปบทเรียน ฯลฯ  การใช้แผนภาพประกอบการสอนจะประสบผลสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียม การเลือก และการใช้แผนภาพของผู้สอน
หลักการใช้แผนภาพ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน
1.  การเตรียม ทดลองใช้ และใช้ให้คล่องแคล่ว
2.  การเลือก ให้เหมาะสมกับระดับวัย ระดับสติปัญญา
3.  การใช้ ยกแผนภาพแสดงให้เห็นทั่วกันทั้งชั้นอย่างชัดเจน
4.  การติดตามผล เพื่อทราบว่าผู้เรียน รับความรู้จากสื่อมากหรือน้อย

ประโยชน์การใช้แผนภาพและข้อจำกัด
ประโยชน์
ในด้านของครูใช้แผนภาพได้ดังนี้
   1. แสดงและอธิบายข้อความ     
   2. ใช้บันทึกกลวิธีการคิดในการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่างๆ
   3. ช่วยนักเรียนในการเรียบเรียงความคิดในการเขียน
   4. ช่วยนักเรียนเรียงความคิดก่อนการเขียน
   5. ช่วยนักเรียนวิเคราะห์สารสนเทศต่างๆ6. ช่วยครูเตรียมตนเองในการสอนสารสนเทศใหม่ๆ

ในด้านของนักเรียน..... ใช้แผนภาพดังนี้
   1. วางโครงสร้างในการจดบันทึกสารสนเทศที่สำคัญ
   2. ช่วยสร้างความคิดการอ่าน
   3. ช่วยเน้นความสนใจต่อสิ่งสำคัญที่สุด   
   4. เชื่อมโยงความคิดและมโนทัศน์ต่างๆ
   5. สร้างสรรค์แผนภาพที่จะช่วยให้เข้าใจและอธิบายได้        
   6. ช่วยในการเลือกและวางลำดับโครงสร้างใหม่ และเก็บสารสนเทศไว้
   7. เรียบเรียงความคิดในขั้นเตรียมการก่อนเขียนในกระบวนการเขียน
   8. สรุปความจากสิ่งที่ตนได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งที่รู้แล้ว
ข้อจำกัด
   1. เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
   2. งานกราฟิกที่มีคุณภาพดี  จำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการผลิต
   3. การใช้ภาพบางประเภท  เช่นภาพตัดส่วน  (sectional  drawings)  หรือภาพการ์ตูนอาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจดีขึ้นเพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของจริงได้